กะเหรี่ยงคอยาว

ผู้หญิงคอยาวที่สุดในเมืองไทยที่แม่ฮ่องสอน

ในแม่ฮ่องสอนนั้นมีหมู่บ้านอยู่สองแห่งที่โด่งดังในเรื่องของผู้หญิงคอยาวของไทยจากชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาว
เราแวะไปเยี่ยมชาวกระเหรี่ยงคอยาวเป็นบางครั้ง ด้านล่างนี้คุณจะเห็นข้อมูลและรูปภาพต่างๆจากการไปเยี่ยมชมของเรา

บทความนี้มีหัวข้อดังต่อไปนี้

เกี่ยวกับกระเหรี่ยงคอยาว

ผู้หญิงกะเหรี่ยงคอยาวเป็นของชนเผ่ากะยัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดงและยังถูกเรียกชื่อว่า ปาดอง แต่พวกเขาต้องการใช้ชื่อว่า กะยัน

ชนเผ่าเหล่านี้เดิมมาจากพม่า พวกเขาต้องหนีมาที่ประเทศไทยเนื่องจากความขัดแย้งในระบอบการปกครองของทหารในพม่า

ทำไมผู้หญิงเหล่านี้ต้องสวมห่วงทองเหลือง?

หญิงสาวกล่าวถึงเหตุผลของการสวมห่วงทองเหลืองว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกว่าความงามนั้นมีบทบาทสำคัญ

ดังนั้นเราจะมาเจาะลึกในบทความของความแปลกประหลาดและด้านที่สวยงามของกะเหรี่ยงคอยาว

ประวัติและภูมิหลัง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สำหรับการสวมใส่สร้อยคอพิเศษนี้ไม่ค่อยชัดเจนมากนัก มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับที่มาทางประวัติศาสตร์ของสร้อยคอนี้ โดยเหตุผลที่ให้ไว้ก็จะเป็นอย่างเช่น พวกผู้หญิงต้องการที่จะปกป้องตัวเองจากการถูกเสือกัดหรือการถูกลักพาตัวจากชนเผ่าอื่นๆ

มีแม้แต่ตำนานที่ว่า ปาดอง ถูกสืบเชื้อสายมาจากมังกรเพศเมียกับชุดเกราะที่คอ ตามตำนานนี้ มังกรเพศเมียตัวนี้กลายร่างเป็นหญิงสาวที่สวยงามและเป็นลูกผสมระหว่างคนกับนางฟ้า มีลูกสองคน ด้วยเหตุผลนี้บรรดาผู้หญิงของเผ่าปาดองจึงยังคงอยากสวมเกราะไว้ที่คอ

บางทีเรื่องราวที่บ้าบอที่สุดก็คือพวกผู้ชายตั้งใจใส่ห่วงเหล่านี้ให้ผู้หญิงเพื่อให้กล้ามเนื้อที่คออ่อนแอลง ดังนั้นผู้หญิงอาจจะถูกลงโทษในกรณีที่เกิดการผิดประเวณีโดยการถอดห่วงออก ถ้าไม่มีห่วงที่คอพวกผู้หญิงอาจจะคอหักได้เพราะกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงนั้นเอง

ห่วงเป็นเกลียว

ไม่สามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่าเรื่องไหนถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สามารถพูดได้อย่างแน่ชัดคือสร้อยคอนั้นไม่ได้ทำขึ้นจากห่วงแต่ละวง โดยสร้อยคอนี้มีองค์ประกอบเพียงชิ้นเดียวที่พาดไปรอบคอของหญิงสาวในลักษณะเป็นเกลียว  เด็กผู้หญิงจะเริ่มใส่ห่วงเมื่ออายุประมาณห้าขวบ ห่วงจะถูกเอาออกและแทนที่ด้วยห่วงอันใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม และจะถอดออกเพียงแค่ไม่นาน เมื่อถอดห่วงออกเราจะสามารถเห็นผิวหนังรอบคอที่จะมีรอยฟกช้ำต่างๆและสีผิวจะซีดกว่าผิวปกติ

น้ำหนักของห่วง

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าสร้อยคอนี้ไม่ได้ทำขึ้นจากห่วงแต่ละวง แต่ทำขึ้นจากขดลวดของทองเหลือง ในช่วงแรกชาวกะยันเคยใช้โลหะผสมทอง, เงิน หรือทองแดง เพื่อทำขดลวดเหล่านี้

แม้ว่าทองเหลืองนั้นจะมีน้ำหนักน้อยกว่าของมีค่าชนิดอื่นๆเช่น ทองหรือเงิน แต่น้ำหนักของห่วงเหล่านั้นสามารถหนักได้ถึง 10 กิโลกรัมเลยทีเดียว! ยิ่งไปกว่านั้น สตรีชาวกะยันหลายคนยังใส่ห่วงไว้ที่ขาและแขนอีกด้วย ห่วงที่แขนและขาจะหนักราว 15 – 20 กิโลกรัม  รวมๆแล้วผู้หญิงหนึ่งคนจะต้องรับน้ำหนักของเครื่องประดับในตัวถึง 30 กิโลกรัม

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในแม่ฮ่องสอน

การไปแวะชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในแม่ฮ่องสอนนั้นจะทำให้คุณได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

หลังจากที่หนีมาจากพม่า พวกชาวเขาก็เริ่มตั้งถิ่นฐานตามแนวชายแดนพม่า ที่ห้วยปูแกงและห้วยเสือเฒ่า มีหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวสองหมู่บ้านในแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ทั้งสองชุมชน

ห้วยปูแกงริมแม่น้ำปาย

ที่ห้วยปูแกงเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของกะยัน หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่ไหลจากปายไปยังประเทศพม่าซึ่งเป็นแม่น้ำที่เชื่อมกับแม่น้ำสาละวิน สามารถเดินทางไปยังหมู่บ้านโดยทางเรือเท่านั้น การเดินทางด้วยเรือหางยาวผ่านภูเขากับป่านั้นเป็นที่น่าประทับใจมาก

คุณสามารถจองทัวร์ในแม่ฮ่องสอนกับบริษัททัวร์ หรือคุณยังสามารถขับรถไปท่าเรือห้วยเดื่อได้ด้วยตัวเอง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 7.5 กิโลเมตร ที่ท่าเรือแห่งนี้ สามารถจองเรือสำหรับขากลับด้วยตัวเองได้ ในแผนที่ด้านล่างนี้ คุณจะเห็นสถานที่ตั้งของท่าเรือห้วยเดื่อ

คลิกลิ้งค์เพื่อเปิดในแท็กใหม่

ห้วยปูแกงตั้งอยู่ประมาณ 7 กิโลเมตร ท้ายน้ำการเดินทางขาไปนั้นเร็วกว่าขากลับที่ต้องทวนกระแสน้ำ

ห้วยเสือเฒ่า

มาถึงหมู่บ้านที่เล็กกว่าอย่างห้วยเสือเฒ่า ถูกสร้างขึ้นในปี คศ. 1995 คุณสามารถมาที่ชุมชนแห่งนี้ด้วยรถยนต์, มอเตอร์ไซค์, หรือจักรยาน แต่คุณยังสามารถขึ้นรถสามล้อในตัวเมืองแม่ฮ่องสอนมาได้ สามารถเข้าถึงหมู่บ้านผ่านทางเทือกเขาถนนที่แคบและคดเคี้ยว สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับถนนสายนี้คือมีลำธารสองสายที่ไหลพาดผ่านถนนอยู่ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขับรถไปห้วยเสือเฒ่าในช่วงที่ฝนตกหนัก

หมู่บ้านแห่งนี้มีถนนเพียงเส้นเดียวซึ่งทำให้นึกถึงตลาดที่ขายพวกของที่ระลึกที่แตกต่างกัน ของที่ระลึกมากมายถูกทำด้วยมือโดยชาวบ้านเอง ในแผนที่ต่อไปนี้คุณจะเห็นที่ตั้งของ ห้วยเสือเฒ่า

คลิกลิ้งค์เพื่อเปิดในแท็กใหม่

ค่าเข้าชม

นักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าเข้าชมคนละ 250 บาท ต่อหนึ่งหมู่บ้านคุณสามารถซื้อตั๋วที่จุดขายตั๋วใกล้กับทางเข้าหมู่บ้าน

มีการแจกแผ่นข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวพร้อมตั๋วซึ่งระบุว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ไม่ได้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อยู่อาศัย แต่จะถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆของโครงสร้างพื้นฐานและการเรียน

เราสามารถสนับสนุนชาวบ้านโดยการอุดหนุนของที่ระลึกต่างๆ และยังมีของที่ระลึกน่ารักๆของการเดินทางที่น่าจดจำทางภาคเหนือของประเทศไทย

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการให้กะเหรี่ยงคอยาวเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

ในโลกอินเตอร์เน็ต คุณจะพบบทความต่างๆที่ต่อต้านการเยี่ยมชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว ผู้เขียนบทความเหล่านี้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้คนถูกนำเสนอในทางที่ผิดว่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ในประเทศไทยมีแปดหมู่บ้าน หมู่บ้านอื่นๆถูกตั้งอยู่ที่ภาคเหนือของไทยในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย หมู่บ้านแห่งหนึ่งตั้งขึ้นในพัทยาทางชายฝั่งตะวันออกของอ่าว

ในระหว่างการแวะชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวของเรานั้น เราได้สร้างมิตรภาพดีๆ เรารู้ว่านักท่องเที่ยวบางคนก็ได้สร้างความเป็นเพื่อนกับชาวกะเหรี่ยงคอยาว มิตรภาพเหล่านี้ถูกเก็บไว้ผ่านบริการทางข้อความ เช่น เฟซบุ๊ก, ว็อทแอป หรือไลน์

เราเชื่อว่าหมู่บ้านของกะยัน กลุ่มย่อยของชาวกะเหรี่ยงแดง สามารถเข้าแวะชมได้ แต่ควรที่จะขออนุญาตก่อนถ่ายรูป ผู้หญิงส่วนมากพูดภาษาไทย และยิ่งพวกกลุ่มคนวัยรุ่นจะพูดภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน

เกี่ยวกับผู้เขียน:

กานต์สิรี ฉิมสุข & มาร์โค สตูรี่

พวกเราเป็นเจ้าของแม่ฮ่องสอนโฮสเทล และเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆทั้งในไทยและต่างประเทศ

พักกับเรา
แม่ฮ่องสอนโฮสเทล
อ่านเพิ่มเติม
เราจะไม่ทำให้คุณเบื่อ

ติดตามเรา

รับข่าวสารจากเรา

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น ความเป็นส่วนตัวนั้นสำคัญ ดูนโยบายความเป็นส่วนตัว คุณสามารถยกเลิกการรับจดหมายข่าวได้ทุกเมื่อโดยการคลิกลิ้งค์ : ยกเลิกการรับจดหมายข่าว